หลักสูตรโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาสมรรถนะและวิจัยนวัตกรรม
วันที่ 17 สิงหาคม 2564 มีเนื้อหาดังนี้
หมวด 1 หัวข้อ “หลักการและปฏิบัติการสมรรถนะอาชีพ”และหัวข้อ “กิจกรรม MILYแลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ละรายวิชา ฐาน 2 สายสนับสนุน” โดยการสอนทางออนไลน์ ซึ่งหัวข้อนี้ ดร.อำนวย เถาตระกูล เป็นผู้บรรยาย เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. มีสาระสำคัญดังนี้
- สมรรถนะสายวิชาการ
- สมรรถนะสายสนับสนุน
- สมรรถนะนักศึกษา
- การประเมินสมรรถนะของตนเอง
- การวางแผนการพัฒนาตนเอง ID-PLAN
หมวดที่ 2 หลักการและปฏิบัติการสร้างงานวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น หัวข้อนี้ ดร.ณพสร สวัสดิบุญญา เป็นผู้บรรยายเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00-15.00 น. มีสาระสำคัญดังนี้
- กรอบนโยบายการวิจัยชาติ ยุทธ์ศาสตร์ชาติกับการวิจัย
- กระบวนทัศน์การวิจัยConstruction & Search
- หลักการวิจัยสร้างนวัตกรรม ADDIE Modelเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
หมวดที่ 3 หลัการและปฏิบัติการของวิศวกรสังคม อาจารย์ศิริลักษณ์ ดวงแก้ว เป็นผู้บรรยาย เริ่มตั้งแต่เวลา 15.00-17.00 น. มีสาระสำคัญดังนี้
- บทบาทวิศวกรสังคม(ด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์)
- การเป็นคนของพระราชา..สู่การพัฒนาท้องถิ่น
วันที่ 18 สิงหาคม 2564
เป็นการฝึกปฏิบัติการมีการแบ่งออกเป็น 3 ฐาน ดังนี้
ฐานที่ 1 สายวิชาการ มี ดร.ณพสร สวัสดิบุญญา เป็นผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) ให้ฝึกปฏิบัติการออกแบบงานวิจัยนวัตกรรมADDIE Model เพื่อนำเทคโนโลยีสู่ชุมชน ฐานที่ 1 สายวิชาการ มี ดร.ณพสร สวัสดิบุญญา เป็นผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator)เริ่มตั้งแต่ 09.00-17.00 น. ให้ฝึกปฏิบัติการออกแบบงานวิจัยนวัตกรรมADDIE Model เพื่อนำเทคโนโลยีสู่ชุมชน
ฐานที่ 2 สายสนับสนุน มีการปฏิบัติ 2 กิจกรรมโดยมี ดร.อำนวย เถาตระกูล เป็นผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 ปฏิบัติการประเมินสมรรถนะของตนเองเพื่อความก้าวหน้าในสายงาน
กิจกรรมที่ 2 ปฏิบัติการวางแผนพัฒนาตนเอง
ฐานที่ 3 นักศึกษา โดยมีอาจารย์ศิริลักษ์ ดวงแก้ว เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น. ดังนี้
กิจกรรมปฏิบัติการหา Need Assessment
มีผู้เข้าอบรมทั้งหมด 230 คน เป็นบุคลากรสายวิชาการจำนวน 75 คน สายสนับสนุน จำนวน 25 คน และนักศึกษา(วิศวกรสังคม) จำนวน 130 คน
ต้องชื่นชมบุคลากรผู้เข้าอบรมทุกท่านที่เข้าอบรมที่ตั้งใจ มุ่งมั่น ทำแบบฝึกปฏิบัติของแต่ละฐานกันได้ผลงานออกมาแล้วสะท้อนให้เห็นว่าบุคลากรของ มรภ.มหาสารคาม มีคุณภาพครับ ที่สำคัญหลังจากตรวจแบบฝึกการประเมินสมรรถนะตนเองและจัดทำแผนพัฒนาตนเอง ของอาจารย์ 75 คน แล้วให้เกรดได้ 2 ระดับ คือ
ระดับ”ดี” มีจำนวน 73 คน
ระดับ”ดีมาก”มีจำนวน 2 คน ครับ
ที่สำคัญต้องชื่นชมท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่มุ่งมั่น คาดหวังในการเปลี่ยนโฉมบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้ทันสมัย เท่าทันความก้าวของงานวิชาการ ไว้ ณ.ที่นี้ด้วย..ครับ








