วันที่ 17 มิถุนายน 2566 ดร.อำนวย เถาตระกูล ในฐานะ “เลขาธิการ” สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย และคณะ ได้รับเชิญจาก บริษัท อินทิเกรทเต็ด รีเสิร์ช เซนเตอร์ จำกัด (IRC) นิคมอุตสาหกรรม 304 อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
วันที่ 17 มิถุนายน 2566 ผม ในฐานะ “เลขาธิการ” สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย และคณะได้แก่ 1.รองศาสตราจารย์.
ดรประทือง ภูมิภัทราคม, 2.ศาสตราจารย์.ดร.พนอเนื่อง สุทัศน์ ณ อยุธยา, 3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิติมา พลับพลึง, 4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิญญา อิงอาจ, 5.ผอ.ดร.ณพสร สวัสดิบุญญา, และ 6.ผอ.สุบิน แพทย์รัตน์ ได้รับเชิญจาก บริษัท อินทิเกรทเต็ด รีเสิร์ช เซนเตอร์ จำกัด (IRC) นิคมอุตสาหกรรม 304 อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็นวิทยากรบรรยาย”หลักสูตรการสร้างนักวิจัยนวัตกรรมในยุคVUCA Worldเชิงพาณิชย์” มีผู้เข้าอบรม ประกอบด้วย นักวิจัย นักบริหารโครงการวิจัย และนักปฏิบัติการในห้องทดลอง(LAB) จำนวนทั้งสิ้น 28 คน
เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วยสาระสำคัญ 6 หมวด ซึ่งการอบรมในวันนี้วันเสาร์ที่17มิถุนายน2566 มีทั้งหมด 3 หมวด ดังนี้:-
หมวดที่1 ปรัชญาและจรรยาบรรณการวิจัยนวัตกรรม
บรรยายโดย ดร.อำนวย เถาตระกูล มีเนื้อสาระที่สำคัญ คือ
1.1 ปรัชญาการวิจัยนวัตกรรม
1.2 นวัตกรรม
1.3 การประยุกต์ใช้ADDIE Model สร้างนวัตกรรม
1.4 จรรยาบรรณการวิจัยและแนวการปฏิบัติให้สอดคล้องกับจรรยาบรรณ
1.4.1 หลักการของจรรยาบรรณวิจัย
1) จริยธรรม/จรรยาบรรณการวิจัยในคน
2) จริยธรรม/จรรยาบรรณการวิจัยในสัตว์
3) จริยธรรม/จรรยาบรรณมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (LAB)
4) จริยธรรม/จรรยาบรรณการเขียนรายงานวิจัยนวัตกรรม
1.4.2 แนวการปฏิบัติให้สอดคล้องกับจรรยาบรรณ
หมวดที่ 2 การกำหนดโจทย์วิจัยนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม มีเนื้อหาสาระที่สำคัญ คือ
2.1 แหล่งที่มาของโจทย์วิจัยนวัตกรรม
2.2 การวิเคราะห์ปัญหาและการหาหัวข้อวิจัยโดยใช้
2.2.1 ผังความคิด(Mind Mapping)
2.2.2 เทคนิคการตั้งคำถาม
2.2.3 เทคนิค SWOT Analysis, Five Forces Analysis
2.2.4 เทคนิคการหาNeed Assessment
2.2.5 เทคนิค BMC,Business Model Canvas, BMI,Business Model Innovation
หมวดที่ 3 การทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัยนวัตกรรม บรรยายโดย ดร.อำนวย เถาตระกูล มีเนื้อหาสาระสำคัญคือ
3.1 ความหมายการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
3.2 วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
3.3 หลักการคัดเลือกวรรณกรรมที่เหมาะสม
3.4 แหล่งสืบค้นวรรณกรรมที่นิยมแพร่หลาย
3.5 การเรียบเรียงวรรณกรรมที่ดี
3.6 กรอบการวิจัยที่ดี
ช่วงท้ายของการเรียนรู้ภาคทฤษฎีในวันนี้ครบ3หมวด ได้มีการแบ่งกลุ่มลงมือปฏิบัติเขียนรายงานการวิจัยนวัตกรรม ที่มีการดำเนินการวิจัยมาก่อนแล้วนำผลการวิจัยที่ได้มาเขียนรายงานการวิจัยนวัตกรรมตามแบบฝึกที่หลักสูตรนี้ได้กำหนดไว้แล้ว
ผมต้องขอแสดงความชื่นชม นักวิจัย, นักปฏิบัติการในห้องทดลอง (LAB), และนักบริหารโครงการวิจัยนวัตกรรม, ของบริษัท อินทิเกรทเต็ด รีเสิร์ท เซนเตอร์ จำกัด (IRC) ทุกท่านที่มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา มุ่งมั่น ตั้งใจอบรมรวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันอย่างยอดเยี่ยม นอกจากนี้ ประเด็นคำถามที่ผู้เข้าอบรมได้ตั้งถามแต่ละเรื่อง สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของนักวิจัยนวัตกรรม ที่มีคุณภาพ ฉลาดแหลมคม สร้างคุณประโยชน์แก่นักวิจัยที่เข้าอบรมด้วยได้อย่างดียิ่ง จึงขอชื่นชม ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

























