ผลงานฝึกอบรม

ดร.อำนวย เถาตระกูล ได้รับเชิญจาก ผอ.ดร.สุดสาย ศรีศักดา หัวหน้าโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรศึกษานิเทศก์เพื่อยกระดับคุณภาพการนิเทศอาชีวศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล “อาชีวศึกษายกกำลังสอง” ให้ไปบรรยายพิเศษ

วันที่ 17 ธันวาคม 2563 ได้รับเชิญจาก ผอ.ดร.สุดสาย ศรีศักดา หัวหน้าโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรศึกษานิเทศก์เพื่อยกระดับคุณภาพการนิเทศอาชีวศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล “อาชีวศึกษายกกำลังสอง” ให้ไปบรรยายพิเศษเกี่ยวกับความเป็นมาและทิศทางการนิเทศในประเด็นดังนี้

1.ประวัติความเป็นมาของศูนย์ส่งเสริมอาชีวศึกษาภาค 5 ภาค ริเริ่มจัดตั้งโดย ท่านประณต นาคามดี (เสียชีวิตแล้ว) หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ มีทีมจัดตั้งประกอบด้วย ท่าน ผอ.ถาวร สัพพะเลข (เสียชีวิตแล้ว) ผอ.มังกร สระศรี (เสียชีวิตแล้ว) ผอ.จุล ทองเหลือง (ป่วยติดเตียง) ศน.สุวรรณ สงวนเผ่า..ผอ.อำนวย เถาตระกูล..ได้เดินทางไปประชุมชี้แจงกับ ศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษาที่ประจำอยู่เขตการศึกษาต่างๆทั่วประเทศ12 เขต จะยุบมารวมกันเป็นศึกษานิเทศก์ภาค ใช้ชื่อว่า “ศูนย์นิเทศและฝึกอบรมอาชีวศึกษาภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”
โดยให้ ผอ.สถานศึกษาเป็น ผอ.ศูนย์ในระยะเริ่มต้น ภาคเหนือคือ ผอ.ถาวร สัพพะเลข (เสียชีวิตแล้ว) ภาคใต้ได้แก่ ผอ.บุญเลิศ ภพลาภ (เสียชีวิตแล้ว) ภาคกลางได้แก่ ผอ.ชาญ เถาว์ศิริ (เสียชีวิตแล้ว) ภาคตะวันออก ได้แก่ ผอ.เอนก ชูจันทร์ (เสียชีวิตแล้ว) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ผอ.สุภรณ์ บุญเนาว์ (เสียชีวิตแล้ว) ครับ และได้งบประมาณแผ่นดินสร้างอาคารสำนักงานศูนย์ โดยมี ผอ.ถาวร สัพพะเลข เป็นสถาปนิก มี ศน.สถาพร ไมตรีจิตต์ ศน.ดำรงค์ศักด์ เป็นผู้เขียนแบบ มี ผอ.อำนวย เถาตระกูล และ ผอ.ยงยุทธ์ ไตติลานนท์ เป็นวิศวกรผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง ครับ

2.ต่อมาปี 2542 ได้เปลี่ยนเป็น ศูนย์นิเทศอาชีวศึกษา เปลี่ยนภารกิจให้เป็นไปตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติปี 2542 ช่วงนี้ สอศ.ยังไม่มีตัวตนที่ชัดเจน ปวช.จะต้องไปอยู่ในสังกัด สพฐ. ปวส.จะต้องไปอยู่อุดมศึกษา ทำให้เกิดการแตกกระจาย ลำบากต่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา ในช่วงนี้ชาวอาชีวศึกษาได้รับความเมตตาจาก ท่าน สุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ศธ. และท่าน ดร.พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์ อธิบดีกรมอาชีวศึกษา ได้เดินทางประสานทางการเมืองให้มีการแก้ไข พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ให้มีการอาชีวศึกษา ที่มีเอกภาพในการจัดการอาชีวศึกษา จึงได้มี พรบ.การศึกษาชาติ 2545 ได้กำหนดให้มีการศึกษาอาชีวศึกษา ตามมาตรา20 เป็นการเฉพาะ และในปี 2546 ได้มี พรบ.บริหารราชการกระทรวง ทบวง กรม เกิดขึ้น ท่าน ดร.พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์ อธิบดีกรมอาชีวศึกษา คนสุดท้าย และเป็น เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นคนแรก ได้ปรับบทบาทหน้าที่ใหม่และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาจนถึงปัจจุบัน

3.ขณะทำงานในการจัดทำโครงสร้างของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษา ประกอบด้วย ผอ.อำนวย เถาตระกูล ขณะนั้นเป็น ผอ.สถาบันพัฒนาครูอาชีวศึกษา เป็นหัวหน้าทีม ผอ.สุบิน แพทย์รัตน์..ผอ.ประยงค์ ผอ.เจริญ บางเสน..และผอ.ธนิชไชย แสนไทย.. ร่วมกันจัดทำกันที่โรงแรมสุขนิรันดร์ กทม.จนเสร็จเสนอให้เลขาธิการ ดร.พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์ ลงนามจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมฯ และ แต่งตั้ง ผอ.ศูนย์ ครบ5 ภาค ครับ

4.ประเด็นต่อมาคือตัวศึกษานิเทศก์ จะต้องปรับกระบวนทัศน์ เป็นผู้ที่ทันสมัยในองค์ความรู้ในอาชีพ ศน. มีขีดความสามารถสูง เป็นครูของครู เป็นศึกษานิเทศก์ที่น่านับถือเป็นที่ยกย่อง ได้รับการยอมรับ เลิกพฤติกรรม นิเทศแบบ ไปกินแป๊ปซี่ ฉี่เสร็จ แล้วเดินทางกลับที่ตั้ง นั่งเบิกเบี้ยเลี้ยง ผลาญเงินงบประมาณแผ่นดิน เป็นต้น

ต้องขอบคุณ ผอ.ดร.สุรพงษ์ เอิมอุทัย ผอ.ดร.สุดสาย ศรีศักดา ที่ให้โอกาสได้มาบรรยายแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ด้วยครับ