news

วันที่ 19 มิถุนายน 2566 ดร.อำนวย เถาตระกูล ในฐานะ “เลขาธิการ” สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย และคณะ ได้รับเชิญจาก บริษัท อินทิเกรทเต็ด รีเสิร์ช เซนเตอร์ จำกัด (IRC) นิคมอุตสาหกรรม 304 อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี

วันที่ 19 มิถุนายน 2566 ดร.อำนวย เถาตระกูล ในฐานะ “เลขาธิการ” สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย และคณะ 1.รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม 2.ศาสตราจารย์ ดร.พนอเนื่อง สุทัศน์ ณ อยุธยา 3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิติมา พลับพลึง 4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิญญา อิงอาจ 5.ผอ.ดร.ณพสร สวัสดิบุญญา 6.ผอ.สุบิน แพทย์รัตน์

ได้รับเชิญจากบริษัท อินทิเกรทเต็ด รีเสิร์ช เซนเตอร์ จำกัด (IRC) นิคมอุตสาหกรรม 304 อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็นวิทยากรหลักสูตรสร้างนักวิจัยนวัตกรรมในยุคVUCA World เชิงพาณิชย์ มีเนื้อหาสาระ 6 หมวด ซึ่งหมวดที่1-3 ได้เรียนรู้ไปแล้วเมื่อวันที่17มิถุนายน2566 และหมวดที่4มีเนื้อหาวิชา5เรื่อง เรื่องที่1การออกแบบวิจัยเชิงปริมาณ เรื่องที่2 การออกแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้ง2เรื่องนี้ได้เรียนรู้ไปแล้วเมื่อวันที่18มิถุนายน2566

วันนี้วันจันทร์ที่19มิถุนายน2566 จะเรียนรู้ หมวด4 การออกแบบวิจัยนวัตกรรม..ดังนี้

ช่วงเช้า…..
หมวดที่4 เรื่องการออกแบบงานวิจัย R&D บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิญญา อิงอาจ มีเนื้อหาสาระ ดังนี้

  1. การออกแบบวิจัยR&D (Research &Development)
  2. การออกแบบวิจัย ERD (Experiment Research Design)
    1) แบบQERD (Quasi-Experiment Research Design)
    2) แบบNER (Non Experimental Design)
  3. การออกแบบวิจัยCRD (Completely Randomized Design)
  4. การออกแบบวิจัยRCBD (Randomized Complete Block Design)
  5. ตัวอย่างการออกแบบวิจัยแบบทดลอง และการใช้สถิติที่สอดคล้องกับแบบแผนการวิจัย

ช่วงบ่าย
เรื่อง การใช้เทคโนโลยีในงานวิจัยนวัตกรรม บรรยายโดย ผอ.สุบิน แพทย์รัตน์ มีสาระดังนี้
1.การใช้ AUTODESK,3D Max
2.การใช้ Auto CAD
3.การใช้ EASY EDA.Free
4.การใช้ Paint 3D Free
5.การใช้ Adobe Illastator
6.การใช้ Solid 3D.Free
7.การใช้ GPS Map Camera

  1. การใช้ Morphi Free
  2. การใช้ 3D Model Free
    10.การใช้ SketchUp PRO

ต้องขอชื่นชม นักวิจัย นักปฏิบัติการในห้องทดลอง(LAB) รวมทั้งผู้บริหารโครงการวิจัย แม้ว่าจะเป็นวันที่3ของการอบรม คณะวิทยากรอยู่ครบทุกคน และผู้เข้าอบรมทุกคนยังกระตือรือล้นที่ตั้งอกตั้งใจเรียนรู้กัน ซักถามข้อความรู้ที่ตรงกับงานวิจัยทางด้านวิศวกรรมที่ตนเองรับผิดชอบ เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นและเชื่อมั่นได้ว่า นักวิจัย กลุ่มนี้เป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพอย่างยิ่ง..มุ่งมั่นที่จะสร้างงานวิจัยของบริษัท IRC ก้าวข้ามงานวิจัยแบบ Prototype ไปเป็นผลงานวิจัยแบบ Commercial type. ให้เป็นที่ต้องการของตลาด และขายได้…ครับ