news

สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกบนแผ่นดินไทย คือ “ให้กำเนิดอาชีพนักวิจัย”

วันที่ 20-21 มีนาคม2566 ดร.อำนวย เถาตระกูล ในฐานะ “เลขาธิการ สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย” และได้รับการแต่งตั้งให้ เป็น “ผู้แทนองค์กร ที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพนักวิจัย จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) สำนักนายกรัฐมนตรี” ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกบนแผ่นดินไทย คือ… “ให้กำเนิดอาชีพนักวิจัย”… “ที่มีใบรับรองสมรรถนะอาชีพ เป็นนักวิจัย ระดับ 8 และ อาชีพผู้ช่วยนักวิจัย ระดับ 5 สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาวิจัยและพัฒนา” ครับ
กระบวนการสร้างนักวิจัย สาขาวิจัยและพัฒนา นี้ สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย ได้ดำเนินการ ที่ใช้กระบวนการสำคัญๆดังนี้
ขั้นที่1. “สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย” ได้รับการติดต่อและเชิญชวนจาก TPQI ให้สถาบันฯเราสมัครเป็นองค์กรประเมินรับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพนักวิจัย ซึ่งมี 3 กลุ่มอาชีพ ได้แก่
1) อาชีพผู้ช่วยนักวิจัย ระดับ 3-5
2) อาชีพนักวิจัย ระดับ 6-8
3) อาชีพผู้บริหารโครงการวิจัย ระดับ 5-8
โดยผมได้ใช้เวลาในการพัฒนาตัวสถาบันฯให้มีความพร้อมทางด้านกายภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการเป็นองค์กรรับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพนักวิจัย โดยใช้เวลาประมาณ 1 ปีกว่า สถาบันฯเราจึงผ่านการประเมินและได้รับการแต่งตั้งให้ “เป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพนักวิจัย ” ในสาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาการวิจัยและพัฒนา ตามใบรับรององค์กร เลขที่ CB – 0346 – A ลงวันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นมา
ขั้นที่ 2 เมื่อสถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย..”ได้รับการรับรองแล้ว”.. ผมได้ลงมือดำเนินการ..”.สร้างผู้เชี่ยวชาญ”… คือ “สร้างคณะผู้ตัดสิน และเจ้าหน้าที่สอบ”… โดยผมได้เชิญชวนผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านวิจัย มาพัฒนาตนเองให้มีความรู้ทักษะ ในการเป็นคณะผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่สอบตามเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนดไว้ในราชกิจนุเบกษา
ในการนี้มีผู้พัฒนาตนเองและผ่านการทดสอบ ประเมินข้อความรู้ เกี่ยวกับการเป็นคณะผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่สอบตามมาตรฐานกำหนด เป็นคณะแรกของประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 9 ท่าน ดังนี้

  1. ดร.อำนวย เถาตระกูล
  2. รศ.ดร.ปราโมทย์ พรสุริยา
  3. รศ.ดร.พรลภัส สุวรรณรัตน์
  4. รศ.ดร.อรจรีย์ ณ.ตะกั่วทุ่ง
  5. พล.อ.ต.ดร.สุพตน์ มิตรยอดวงศ์
  6. ผศ.ดร.วีรยา ภัทรอาชาชัย
  7. ผศ.ดร.ศิริรัตน์ ดีศิลธรรม
  8. ผศ.ธิติมา พลับพลึง
  9. ดร.ณพสร สวัสดิบุญญา
    รวมทั้งมีผู้ดูแลระบบไอที และเจ้าหน้าที่ธุรการ ที่สนับสนุนให้การดำเนินการสอบและประเมิน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธภาพอีก 2 คน ได้แก่
  10. นายเอกลักษณ์ ประสงค์ใจ
  11. นางสาวมยุรี ปานสด

ซึ่ง…”ถือกำเนิดเป็นคณะผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่สอบชุดแรกของประเทศไทย”…ที่ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ในการสร้าง..”อาชีพนักวิจัย”.. ที่มี…”ใบรับรองการประกอบอาชีพนักวิจัย ระดับ 8 และ อาชีพผู้ช่วยนักวิจัยระดับ 5 เกิดขึ้นบนแผ่นดินไทย”…ครับ
ขั้นที่ 3 ส่งเสริม พัฒนาคณะผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่สอบ ให้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องมาตรฐานสมรรถนะอาชีพใน 3 กลุ่มอาชีพ ได้แก่
1) อาชีพผู้ช่วยนักวิจัย ระดับ 3 – 5
2) อาชีพนักวิจัย ระดับ 6 – 8
3) อาชีพผู้บริหารโครงการวิจัย ระดับ 5 – 8
ซึ่งตัวมาตรฐานสมรรถนะอาชีพ จะมีโครงสร้างจำนวนหน่วยสมรรถนะที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่
1) หน่วยสมรรถนะร่วม
ที่ทุกกลุ่มอาชีพจะต้องมีความรู้ มีทักษะ และประสบการณ์ เหมือนกัน จะมีจำนวนหน่วยสมรรถนะหลัก ทั้งหมด 8 หน่วย
2) หน่วยสมรรถนะอาชีพ จะมีสมรรถนะหลักแตกต่างกันตามลักษณะของกลุ่มอาชีพ ตั้งแต่ 1 – 4 หน่วย …ครับ
ขั้นที่ 4 ส่งเสริม พัฒนาคณะผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่สอบ ให้เรียนรู้และฝึกทักษะการใช้ “คู่มือการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ในการเทียบโอนประสบการณ์ แบบ RESK” รวมทั้งได้ร่วมกับTPQI ในการจำลองสถานการณ์ฝึกให้…”คณะผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่สอบ”…”ได้ทดลองฝึกปฏิบัติ”…ใช้คู่มือผู้ประเมินและเจ้าหน้าที่จัดสอบ” ให้พร้อมที่จะเป็นผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่สอบ ที่มีศักยภาพและคุณภาพตามที่เกณฑ์มาตรฐานกำหนด
ขั้นที่ 5 สถาบันฯดำเนินการประกาศรับสมัครนักวิจัย หรือครูอาจารย์ที่สอนการทำวิจัย ที่มีความประสงค์จะขอเข้ารับการประเมินสมรรถนะตนเองตามมาตรฐานอาชีพวิจัยโดยการเทียบโอนประสบการณ์ แบบ RESK เพื่อขอรับใบประกอบวิชีพนักวิจัย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่เปิดประเมิน 2 อาชีพ คือ
1) อาชีพผู้ช่วยนักวิจัย ระดับ 5 และมีผู้ประสงค์ขอเข้ารับการประเมิน จำนวน 1 คน
2) อาชีพนักวิจัย ระดับ 8 และมีผู้ประสงค์ขอเข้ารับการประเมิน จำนวน 27 คน
รวมมีผู้สมัครเข้าสอบทั้งสิ้น จำนวน 28 คน
สำหรับรายชื่อของนักวิจัยที่ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ สมัครสอบเป็นนักวิจัยที่จะขอรับใบประกอบวิชาชีพนักวิจัย ระดับ 8 และอาชีพผู้ช่วยนักวิจัย ระดับ 5 ที่ถือกำเนิดเป็นชุดแรกหรือ”รุ่นแรกของประเทศไทย” ที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้;-
1.มรภ.สวนสุนันทาได้แก่
1) รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดี
2) ผศ.ดร.ชลภัสสรณ์ สิทธวรงชัย คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมฯ
3.) รศ.ดร.รจนา จันทราสา ผอ.สำนักวิจัย
4) ผศ.ดร.ชุมพล รอดแจ่ม รองคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมฯ
5) ผศ.ดร.สุพัตรา ปราณี รองคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมฯ
6) ผศ.ดร.ธนพล ก่อฐานะ ประธานหลักสูตรปริญญาเอกฯ
7) ผศ.ดร.ปัญญา จันทิมา
8) ผศ.ดร.ธวัชชัย สู่เพื่อน
9) ผศ.ดร.ธงไชย สุรินทร์วรางกูร
10) ผศ.ดร.ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์
11) ผศ.ดร.ญาณัญฏา สิรภัทร์ธาดา
12) ผศ.พนิดา นิลอรุณ
13) ผศ.ดร.ทวีป พรหมอยู่
14) ผศ.เอกณรงค์ วรสีหะ
15) ผศ.รติรัตน์ ณ สงขลา
16) อ.สุวิตา พฤกษอาภรณ์
17) อ.อทิตา บัวศรี
18) อ.นฤมล ชมรม
19) อ.วรีญา คลังแสง
20) อ.จงดี พฤกษารักษ์
21) อ.ดร.ณัฐชัย เอกนราจินดาวัฒ์
22) อ.จิราภรณ์ บุญยิ่ง
23) อ.วุฒิพงศ์ จันทรเมืองไทย
24) อ.วีณา จันทรสมโภชน์

จาก ม.ศิลปากร ได้แก่
1) ผศ.ดร.อภิญญ่ อิงอาจ

จาก มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้แก่
1) ศ.ดร.พนอเนื่อง สุทัศน์ ณ อยุธยา

จาก ม.รัตนบัณฑิตย์ ได้แก่
1) ผศ ดร.รภัทภร เพชรสุข

จาก อบต.คลองขุด ได้แก่
1) ดร.ชเนตตี วงศ์แก้ว

ต้องขอ..”จารึก”..รายชื่อ..”คณะผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่สอบ”.. รวมทั้ง..”นักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย”..ดังกล่าวมาข้างต้นไว้ ณ.ที่นี้ ว่าเป็นผู้ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในการก่อกำเนิด “นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย” ที่จะมีใบประกอบวิชาชีพ สาขาการวิจัยและพัฒนา เป็นครั้งแรกของแผ่นดินไทยเรานะครับ
ขั้นที่ 6 ดำเนินการสอบเทียบโอนประสบการณ์ แบบ RESK เพื่อขอรับใบรับรองสมรรถนะการประกอบวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาวิจัยและพัฒนา ครับ
ท้ายสุด ต้องขอขอบคุณท่าน อาจารย์ อุดมลักษณ์ จาก TPQI ที่เข้าร่วมสังเกตุการณ์ในการดำเนินการบริหารจัดการ สอบประเมิน “ของสถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย” และให้กำลังใจ ชื่นชม ว่าจัดทำระบบสอบเทียบโอนประสบการณ์ แบบ RESK แบบออนไลน์ และการเตรียมบุคลากรในการดำเนินการสอบประเมินเป็นครั้งแรกของประเทศไทยได้อย่างเข้มข้นสมบูรณ์ มีมาตรฐานความน่าเชื่อถืออย่างยิ่งครับ…”ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของพวกเราทุกคน” ที่ได้มีโอกาสสร้างคุณประโยชน์ ให้แก่ประเทศชาติ และได้ตอบแทนคุณแผ่นดินเกิด.. ครับ