news

การพัฒนาการปฎิบัติงานในหน้าที่ หรือพัฒนานวัตกรรมและการสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษอาชีวศึกษา

ดร.อนันท์ งามสะอาด

คณะอนุกรรมการด้านการติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษาและการมีงานทำ

1.การพัฒนาการปฎิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศึกษาสถานศึกษา
1.1 บังคับบัญชาพนักงานครูและบุลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา บริหารกิจการของสถานศึกษา การวางแผนการปฏิบัติ การควบคุม กำกับ ดูแลเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป ความสัมพันธ์กับชุมชน และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
1.2 ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
1.2.1 บังคับบัญชาพนักงานครูและบุคลากรในสถานศึกษา มีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตากฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
1.1.2 วางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมินและจัดทำรายงานเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา
1.2.3 จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสี่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล
1.2.4 ส่งเสริมและจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
1.2.5 จัดทำระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา
1.2.6 บริหารงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน
1 2.7 วางแผนการบริหารงานบุคล การสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
1.2.8 จัดทำมาตรฐานและภาระงานของพนักงานครูและบุคลากรในการศึกษา ประเมินผลในการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานของพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.2.9 ส่งเสริมสนับสนุนพนักงานครูและบุลากรในสถานศึกษา ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
1.2.10 ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน
1.2.11 จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา
1.2.12 จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.2.13 เป็นผู้แทนของสถานศึกษาในกิจการทั่วไป
1.2.14 ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2.พัฒนานวัตกรรมและการสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่
2.1 นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการเป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา หรือ เพื่อการพัฒนาองค์กรในการบริหารจัดการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
2.2 การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อาชีวศึกษาแนวใหม่ทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบและระบบทวิภาคี การปรับหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น และเชื่อมโยงการสำเร็จการศึกษา และการมีงานทำ โดยปรับลดรายวิชาสามัญ เพิ่มรายวิชาชีพที่สร้างสมรรถนะให้แก่ผู้เรียน และบูรณาการวิชาสามัญและวิชาชีพในชุดวิชาเดียวกัน ที่เรียกว่าการจัดหลักสูตรแบบโมดูล (Modular System) เพื่อส่งเสริมผู้เรียนในด้านสมรรถนะของงานอาชีพ และจัดการเรียนรู้แบบสะสมหน่วยการเรียนรู้ หรือธนาคารหน่วยกิต หรือเครดิตแบงก์ (Credit Bank) เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ โดยกำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้เรียน
สามารถสะสมผลการเรียนรู้ในแต่ละวิชาแต่ละทักษะ องค์ความรู้ที่ต้องการ และนำมาสะสมไว้เพื่อการศึกษาต่อในระดับต่างๆพร้อมทั้งส่งเสริมจัดการเรียนรู้แบบต่อBlock Course และพัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับให้กับกลุ่มผู้ที่สำเร็จการศึกษาและยังไม่มีงานทำ กลุ่มผู้เรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาและคนวัยทำงาน หรือผู้ที่ต้องการ Up-skill,Re-Skill รวมถึงการเรียนรู้ในห้องเรียน และการเรียนรู้แบบออนไลน์ เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงที่วดเร็ว มีความซับซ้อน โดยการเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น และการทบทวนทักษะความชำนาญให้มีมิติในห่วงโซ่คุณค่าของสาขาอาชีพ ทั้งด้านตำแหน่งงาน งานวิกฤติ สมรรถนะกำลังคนและความสามารถทางด้านเทคโนโลยี ฯลฯเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3.การสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่
3.1 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน.วิทยาลัยชุมชน สถานศึกษาอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษา ชุมชน หน่วยงานปกครองท้องถิ่น สถาบันอุดมศึกษา สถานประกอบการ คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนอาชีวศึกษา(อ.กรอ.อศ.) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หน่วยงานการจัดการศึกษาเฉพาะทางทั้งในและต่างประเทศ
3.2 ศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of
Vocational Manpower Networking
Management : CVM) เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ขับเคลื่อนการศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งข้นของประเทศ ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และรองรับการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 4.0 และเพื่อขับเคลื่อนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษามีความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้เรียนตามนโยบายเร่งด่วน (Quick Win) ของกระทรวงศึกษาธิการ ด้านความปลอดภัยของผู้เรียน และการขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศของการศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งข้นของประเทศ เพื่อให้ผู้จบการศึกษาอาชีวศึกษา มีอาชีพและมีรายได้ที่เหมาะสม โดยการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NOF) กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) รวมถึงมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกลุ่มสถานศึกษาจำแนกตามสาขาวิชาที่เปิดสอน สถานศึกษากลุ่มความเป็นเลิศ (Excellent Center) และเชี่ยวชาญเฉพาะที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการในสาขาที่สอดคล้องกับกลุ่มอาชีพ และกลุ่มอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศโดยการพัฒนาผู้เรียนใน สาขาอุตสาหกรรมหลักเป้าหมายของประเทศ ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 6) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 7) อุตสาหกรรมขนส่งและการบิน 8)อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และ 9) อุตสาหกรรมดิจิทัล

สรุป การพัฒนาการปฎิบัติงานในหน้าที่ หรือพัฒนานวัตกรรมและการสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ม่งเน้นเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบาย การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาสถานศึกษาตามมาตรฐานของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

Loading