news

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ดร.อำนวย เถาตระกูล ได้ทำหนังสือขออนุญาตเข้าพบหารือ เรื่อง การพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษาด้านการสร้างนักวิจัยนวัตกรรมในยุค VUCA World เชิงพาณิชย์ ใช้งานได้จริง ..ต่อยอด…ขายได้..ครับ

โดยมีทีมงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย (สวพท.) ที่เข้าพบได้แก่ ดร.อำนวย เถาตระกูล เลขาธิการ สวพท. ผอ.สุบิน แพทย์รัตน์ รองเลขาธิการ สวพท.ฝ่ายฝึกอบรมและวิจัย และ ดร.วิณัฐภัทร โพธิ์เพชร รองเลขาธิการฝ่ายติดตามและประเมินผล

คณะผู้บริหาร สอศ. ที่ได้เข้าพบได้แก่ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา และทีมผู้บริหารได้แก่ นายสง่า แต้เชื้อสาย ผู้ช่วยเลขาธิการ สอศ. และ ดร.สุรพงษ์ เอิมอุทัย ผอ.สสอ. ณ.ห้องทำงานของ ลอศ.ซึ่งท่านได้ให้การต้อนรับ และ”ได้รับหลักการ” ที่จะให้มีการอบรมโครงการนี้โดยใช้งบประมาณปี2566 ของ สอศ. ครับและได้แลกเปลี่ยน รวมทั้งชี้แนวทางในการดำเนินการ รวมทั้งมอบหมายสั่งการให้ นายสง่า แต้เชื้อสาย และ ผอ.ดร.สุรพงษ์ เอิมอุทัย ร่วมกันรับผิดชอบ..ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง..เพื่อให้เกิดโครงการอบรมหลักสูตรนี้ที่ท่านได้ “เห็นชอบรับหลัการแล้ว” อย่างมุ่งมั่น..ด้วยครับ

ผลการเข้าพบหารือการพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษาด้านการสร้างนักวิจัยนวัตกรรมครูอาชีวะ เป็นไปอย่างดียิ่ง ดังนี้

  1. เลขาธิการ สอศ.”เห็นชอบรับหลักการ” ที่จะให้มีหลักสูตรการสร้างนักวิจัยนวัตกรรมในยุคVUCA World เชิงพาณิชย์ ในการพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษา…
  2. เป้าหมายการพัฒนา แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่

2.1 ระดับแรก สร้าง”วิทยากร”พัฒนานักวิจัยนวัตกรรม ให้แก่อาชีวะ จำนวน 1รุ่น โดยคัดเลือกครูอาจารย์จากสถาบันการอาชีวะทั่วประเทศ ที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำควรจบการศึกษา ระดับ ป.เอก (แผนทำวิจัย) มาฝึกอบรม เป็นวิทยากร แห่งละ 2-3 คน รวมต่อรุ่นมีจำนวนไม่เกิน 50 คน เน้นการฝึกทฤษฏีและปฏิบัติ ตามแบบฝึกที่หลักสูตรกำหนดแบบเข้มข้น..เมื่อจบการอบรมแล้วจะได้ใบรับรองการเป็นวิทยากรสร้างนักวิจัยนวัตกรรม จากสถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย และ สอศ.

2.2 ระดับที่สอง สร้างครูอาชีวะให้เป็นนักวิจัยนวัตกรรมเชิงพาณิชย์..ใช้งานได้จริง ต่อยอด ขายได้..เพื่อนำความรู้ไปสอนนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการอาชีวะ ให้สามารถสร้างชิ้นงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ที่มีรายงานการวิจัยนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ กำกับชิ้นงาน จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการต่อยอดได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยจะจัดการอบรมระดับนี้ กับบุคลากรกลุ่มเป้าหมายได้แก่ หน.งานวิจัย หน.งานสิ่งประดิษฐ์ หรือครูที่ควบคลุมสิ่งประดิษฐ์ นักศึกษา

ท้ายสุดต้องขอขอบคุณคณะผู้บริหาร สอศ. รวมทั้งที่งาน จนท.หน้าท้อง ลอศ.ทุกท่านที่ให้การรับรองดูแลแบบกัลยามิตร และต้องขอบคุณทีมงานสถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย.ทุกท่านที่เสียสละเวลาเข้าร่วมประชุมหารือ..เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่การอาชีวศึกษาไทยต่อไป..ครับ

Loading