news

ไผ่จะไปได้ไกลแค่ไหน?

แค่มีทุนไม่พอ แค่ชอบไม่พอ แค่ลงมือปลูกก็ยังไม่พอ

“วิชาการ” ต้องขยับเข้ามาช่วยอย่างจริงจัง

อีก 2-3 ปีข้างหน้า

“ไผ่” ซึ่งชาวแม่แจ่มปลูกทดแทนข้าวโพด จะได้อายุพร้อมตัด และเริ่มทยอยออกสู่ตลาด
“อุตสาหกรรมการแปรรูปที่มีประสิทธิภาพ” ถูกล็อคเป้าไว้เป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องตั้งหลักให้ได้โดยเร็วที่สุด
ปัจจุบัน แม้จะเริ่มเดินเครื่องโรงงานขนาดเล็ก และมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแล้ว แต่แม่แจ่มโมเดลพลัส ยังต้องการองค์ความรู้ที่เข้มข้น เพื่อให้เดินต่อได้จริงในเชิงธุรกิจอย่างเช่น “หลังคาไผ่” ซึ่งใช้เวลาพัฒนาผลิตภัณฑ์กว่า 1 ปี เป็นสินค้าตัวแรกของแม่แจ่มที่มีโอกาสทางการตลาดสูง แต่กลายเป็นว่า กำลังการผลิตยังไม่สูงนัก เพราะติดคอขวดตรงประสิทธิภาพของเครื่องจักร ออเดอร์หลักหมื่นชิ้นต่อเดือน แต่ทำส่งได้จริงแค่หลักพันต้นๆ จึงเป็นที่มาของการตั้งวงคุยกับ “นักวิชาการ” ด้านวิศวะฯ และสถาปัตย์ฯ มีความรู้และมุมมองน่าสนใจมาแบ่งปัน #ลองดูในคลิปนะครับ

“ยุค 4.0 แต่เทคโนโลยีที่ใช้แค่ 0.4”
“เส้นใยไผ่ เหนียวพอ ๆ กับเหล็ก”
“ต้องผลักดัน มอก. รับรองมาตรฐาน เสา ขื่อ คาน จากไผ่”
“เสนอให้ทำเป็นที่พักชั่วคราว ถอดประกอบ แพ็กส่งขาย”
“ดึงศักยภาพของไผ่ออกมา ใช้งานออกแบบเข้าช่วย”

ปฏิบัติการจริงอยู่ในพื้นที่ ชาวบ้านกล้าลุกขึ้นมาเปลี่ยน แต่ “วิชาการ” จะช่วยให้เส้นทางที่หวัง ใกล้เคียงโลกแห่งความจริง และมีอนาคต

โจทย์ที่ทิ้งไว้ท้ายคลิปน่าสนใจนะครับ จะทำอย่างไร? ให้องค์ความรู้ด้าน “เศรษฐศาสตร์+ สังคม+วิทยาศาสตร์” หลอมรวมเข้าด้วยกัน
เพื่อสร้างคุณค่าและความหมายที่แท้จริงของงานวิชาการ

ขอบคุณ
ผศ.ดร. อนุชา พรมวังขวา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เชียงใหม่
ผศ. กานต์ คำแก้ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
พรสวรรค์ หมายยอด ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1
ชมคลิป แนวคิดการปักฐานโรงงานไผ่ที่แม่แจ่ม ลิงค์นี้ครับ https://www.facebook.com/join.forestbook/videos/2677363508942943/

Loading